Curriculum 2



Listening Skill



           Listening is one of the most challenging skills for our students to develop and yet also one of the most important. By developing their ability to listen well we develop our students' ability to become more independent learners, as by hearing accurately they are much more likely to be able to reproduce accurately, refine their understanding of grammar and develop their own vocabulary.
         In this article I intend to outline a framework that can be used to design a listening lesson that will develop your students' listening skills and look at some of the issues involved.
  

  
                              The basic framework
  1. - Pre-listening 
  2. - While listening 
  3. - Post-listening 
       The basic framework on which you can construct a listening lesson can be divided into three main stages.
- Pre-listening, during which we help our students prepare to listen.
- While listening, during which we help to focus their attention on the listening text and guide the development of their understanding of it.
- Post-listening, during which we help our students integrate what they have learnt from the text into their existing knowledge.

Pre-listening
       There are certain goals that should be achieved before students attempt to listen to any text. These are motivation, contextualisation, and preparation.
- Motivation: It is enormously important that before listening students are motivated to listen, so you should try to select a text that they will find interesting and then design tasks that will arouse your students' interest and curiosity.
- Contextualisation: When we listen in our everyday lives we hear language within its natural environment, and that environment gives us a huge amount of information about the linguistic content we are likely to hear. Listening to a tape recording in a classroom is a very unnatural process. The text has been taken from its original environment and we need to design tasks that will help students to contextualise the listening and access their existing knowledge and expectations to help them understand the text.
- Preparation: To do the task we set students while they listen there could be specific vocabulary or expressions that students will need. It's vital that we cover this before they start to listen as we want the challenge within the lesson to be an act of listening not of understanding what they have to do.

While listening

       When we listen to something in our everyday lives we do so for a reason. Students too need a reason to listen that will focus their attention. For our students to really develop their listening skills they will need to listen a number of times - three or four usually works quite well - as I've found that the first time many students listen to a text they are nervous and have to tune in to accents and the speed at which the people are speaking.
         Ideally the listening tasks we design for them should guide them through the text and should be graded so that the first listening task they do is quite easy and helps them to get a general understanding of the text. Sometimes a single question at this stage will be enough, not putting the students under too much pressure.


         
           The second task for the second time students listen should demand a greater and more detailed understanding of the text. Make sure though that the task doesn't demand too much of a response. Writing long responses as they listen can be very demanding and is a separate skill in itself, so keep the tasks to single words, ticking or some sort of graphical response.
          The third listening task could just be a matter of checking their own answers from the second task or could lead students towards some more subtle interpretations of the text.
            Listening to a foreign language is a very intensive and demanding activity and for this reason I think it's very important that students should have 'breathing' or 'thinking' space between listenings. I usually get my students to compare their answers between listenings as this gives them the chance not only to have a break from the listening, but also to check their understanding with a peer and so reconsider before listening again.

Post-listening

        There are two common forms that post-listening tasks can take. These are reactions to the content of the text, and analysis of the linguistic features used to express the content.
           - Reaction to the text: Of these two I find that tasks that focus students reaction to the content are most important. Again this is something that we naturally do in our everyday lives. Because we listen for a reason, there is generally a following reaction. This could be discussion as a response to what we've heard - do they agree or disagree or even believe what they have heard? - or it could be some kind of reuse of the information they have heard.
           - Analysis of language: The second of these two post-listening task types involves focusing students on linguistic features of the text. This is important in terms of developing their knowledge of language, but less so in terms of developing students' listening skills. It could take the form of an analysis of verb forms from a script of the listening text or vocabulary or collocation work. This is a good time to do form focused work as the students have already developed an understanding of the text and so will find dealing with the forms that express those meanings much easier.

Excerpted from : http://www.teachingenglish.org.uk/articles/a-framework-planning-a-listening-skills-lesson



การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง (Listening skill)



        ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับชาวต่างชาติ เป็นสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ ประกอบกับในยุคนี้เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีที่ต้องใช้ทักษะทางภาษาอังกฤษ ดังที่ ยุดา รักไทย (2552 : 26) ได้กล่าวว่า “บทบาทและความสำคัญของภาษาอังกฤษ เป็นแรงผลักให้ผู้เรียน ต้องเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ เพื่อติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ด้านความรู้ ความคิดและเทคโนโลยีต่างๆ กับชาวต่างชาติ” ซึ่งความจำเป็นในการใช้ภาษาดังกล่าวสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544 : 1) ได้กำหนดไว้ในเอกสารสาระและมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในเรื่องวิสัยทัศน์การเรียนรู้ว่า “การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคาดหวังว่า เมื่อผู้เรียนเรียนภาษาอังกฤษ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ผู้เรียนจะมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพและสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์”
          ในธรรมชาติของเด็กนั้นเด็กมีสัญชาตญาณแห่งการสื่อสารและการพูดอยู่แล้วจึงน่าจะเป็นประโยชน์ในการที่จะจูงใจให้นักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือครูจะต้องไม่ลืมว่า การเรียนภาษาอังกฤษเป็นการเรียนเพื่อการใช้ภาษา ไม่ได้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษา ดังนั้นครูจึงไม่ควรที่จะปิดกั้น หรือห้ามปรามเมื่อเด็กพูดจนมากเกินไป ครูควรปล่อยให้เด็กได้มีโอกาสพูดแสดงความคิดเห็นบ้าง หรือให้นักเรียนได้มีโอกาสให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียนให้มากขึ้น หรือครูควรจัดให้มีกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษอย่างสม่ำเสมอ


                 ทักษะการฟังคืออะไร?...
            
             การสื่อสารในชีวิตประจำวันนั้นการฟังนับว่าเป็นทักษะรับสารที่สำคัญทักษะหนึ่ง เป็นทักษะที่ใช้กันมากและเป็นทักษะแรกที่ต้องทำการสอนเพราะผู้พูดจะต้องฟังให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสามารถพูดโต้ตอบ อ่านหรือเขียนได้ ทักษะการฟังจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ ดังนั้นในการเรียนการสอนนักเรียนจึงควรได้รับการฝึกฝนทักษะการฟังอย่างเพียงพอและจริงจัง
นพเก้า ณ พัทลุง(2548:22) ได้ให้ ความหมายของทักษะการฟัง หมายถึงความสามารถในการจับประเด็นใจความหลักจากสิ่งที่ฟังได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนซึ่งเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน เพราะผู้เรียนต้องเข้าใจสาระสำคัญจากสิ่งที่พูดอารมณ์และความคิดเห็นของผู้พูดและสามารถตอบสนองระบุความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดหรือบริบทของการพูดได้ คุณค่าของการฟังคืออะไร
              David Pual (2004 : 71) ได้กล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่เด็กๆจะต้องฟังภาษาอังกฤษที่เหมาะกับระดับของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภาษาควรจะง่ายสำหรับเด็กและอยู่ในระดับปัจจุบันหรือเหนือระดับที่เข้าใจได้แล้วเล็กน้อย ถ้าระดับยากเกินไปเด็กอาจสูญเสียความมั่นใจและทัศนคติด้านบวกไปก็ได้ หากเด็กได้เรียนภาษาอังกฤษหลายครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยได้มากถ้าให้ทำแบบฝึกหัดการฟังอย่างสม่ำเสมอจากเทป หรือครูผู้ให้ข้อมูลแบบฝึกหัดควรจัดระยะให้ห่างเท่าๆกันในบทต่างๆแทนที่จะทำพร้อมกันในชั่วโมงเรียนถ้าหากเรียนหนึ่งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์เราไม่ควรคาดหวังว่าความสามารถในการฟังของเด็กจะดีขึ้นมากจากการทำแบบฝึกหัดการฟังในชั้นเรียนที่สำคัญมากก็คือให้ทำแบบฝึกหัดการฟัง อย่างสม่ำเสมอในช่วงที่ไม่ได้เรียนเราอาจสนับสนุนให้เด็กและผู้ปกครองฟังเทปในรถที่บ้านหรือสนับสนุนให้เด็กดูวีดีทัศน์หรือใช้โปรแกรมภาษาอังกฤษ สิ่งที่อาจทำได้นั้นสิ่งหนึ่งขึ้นอยู่กับสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวเด็กและเวลาที่เด็กทุ่มเทให้ภาษาอังกฤษ แต่อย่างน้อยเราสามารถเน้นกับเด็กและผู้ปกครองว่าเด็กจะได้ประโยชน์อย่างสูงจากการได้ฟังภาษาอังกฤษมากๆ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าควรหลีกเลี่ยงการใช้เทปในชั้น เพียงแต่เราไม่ควรคาดหวังว่าการฟังเทปหนึ่งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์จะทำให้ความสามารถในการฟังของเด็กดีขึ้นมากนัก เทปยังมีประโยชน์มากในการทำให้ได้ยินเสียงของตัวละคร เสียงของเจ้าของภาษา ที่ช่วยสร้างความหลากหลายในวิธีที่เด็กจะได้พบเป้าหมายทางภาษาให้แบบอย่างในการออกเสียงและช่วยแนะนำฝึกร้องเพลงอีกด้วย

อะไรคือหลักการเบื้องหลังของการสอนทักษะการฟัง ?...


         เสาวภา ฉายะบุระกุล (2546:136) ได้กล่าวถึงหลักการเบื้องหลังของการสอนทักษะการฟัง
ดังนี้คือ
1.เครื่องบันทึกเทปมีความสำคัญเท่าๆกับตัวเทปเอง ไม่ว่าเทปจะดีเพียงใดจะหมดความหมายทันทีหากลำโพงเรื่องบันทึกเทปมีคุณภาพต่ำกิจกรรมอะไรที่ช่วยส่งเสริมการสอนทักษะการฟัง
2. การเตรียมตัวเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งครูและนักเรียนจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการฟัง ครูต้องฟังเทปตั้งแต่ต้นจนจบก่อนจะเอาเข้าไปเปิดในชั้นเรียน ซึ่งวิธีนี้ครูจะสามารถเตรียมตัวและตัดสินใจได้ว่า นักเรียนจะฟังเทปและทำงานประกอบการฟังได้หรือไม่
3. ฟังครั้งเดียวไม่พอ ครูควรจะเปิดเทปให้นักเรียนฟังอย่างน้อย 2 รอบ เพื่อที่จะให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาลักษณะทางภาษาบางอย่างที่อยู่ในเทป
4.ควรกระตุ้นให้นักเรียนตอบสนองต่อเนื้อหาของสิ่งที่ฟังด้วยไม่ใช่เฉพาะแต่เพียงภาษาเท่านั้น เช่นเดียวกับการอ่าน สิ่งที่สำคัญที่สุดในการฝึกฝนทักษะการฟังคือการพยายามจับความหมาย เจตนารมณ์ของผู้พูด
5.งานประกอบการฟังจะต้องแตกต่างกันไปตามลำดับขั้นตอนการฟังที่แตกต่างกัน เพราะเหตุผลที่ว่าเราอยากจะทำอะไรหลายๆอย่างกับเรื่องที่ให้นักเรียนฟังเราจึงจำเป็นต้องกำหนดงานให้แตกต่างกันตามลำดับขั้นตอนการฟังที่แตกต่างกันซึ่งหมายความว่าในการฟังรอบแรกงานที่ให้ทำจะต้องเป็นคำถามที่ค่อนข้างตรงไปตรงมากระตุ้นการใช้ภาษา หากทำเช่นนี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถคลายความเครียดจากการฟังได้ อย่างไรก็ตามในการฟังรอบหลังๆ อาจเน้นที่รายละเอียดของข้อมูล การใช้ภาษา หรือการการเสียงได้ดียิ่งขึ้น
6.ครูที่ดีต้องใช้ประโยชน์จากเรื่องที่ให้นักเรียนฟังให้เต็มที่หากครูให้นักเรียนลงทุนทั้งเวลาและพลังทางอารมณ์ในการทำกิจกรรมการฟังครูก็ควรจะใช้เทปนั้นเพื่องานหลายประเภทให้มากที่สุด ดังนั้นหลังจากการเล่นเทปครั้งแรก ครูอาจเล่นเทปอีกครั้งก็ได้เพื่อการศึกษาแบบต่างๆก่อนที่จะใช้เนื้อเรื่อง สถานการณ์หรือถอดเทป สำหรับกิจกรรมใหม่ ดังนั้นการฟังจึงเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญตอนหนึ่ง ในขั้นตอนการสอน มิใช่เป็นแค่เพียงแบบฝึกหัดเท่านั้น

ปราณี ธนะชานันท์ (2547:73) ได้เสนอแนะกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการฟังไว้ดังนี้



 
              
               1. การเขียนตามคำบอก มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในการพัฒนาการรับรู้เสียงของภาษาและตรงกันข้ามกับความเห็นส่วนใหญ่เรื่องการเขียนตามคำบอก การทำเช่นนี้อาจเป็นกิจกรรม
ที่สนุกสนานได้ ครูอาจออกเสียงให้เด็กเขียนในรูปภาพ ตาราง บิงโกและแผนที่มหาสมบัติเด็กเลือกช่อง
ที่จะเขียนเสียงลงไป และได้แต้มถ้าเลือกช่องบางช่องเด็กๆอาจมีใบงานที่มีเสียงและคำอยู่แล้วและทำกิจกรรม เช่น ฟังเสียงหรือคำบอกเลือกคำตอบที่ถูกบนใบงาน แล้วโยงเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นภาพหรือเดินทางไปตามเขาวงกต หรืออาจทำกิจกรรมในคลังเกม เช่น Bingo (บิงโก) Chopstick Spelling(การสะกดคำด้วยตะเกียบ)Treasure Hunt Challenge (การค้นหาขุมทรัพย์)
                2. การเล่าเรื่อง ถ้าเด็กเรียนมากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์การเล่าเรื่องถือเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมการฟัง โดยเฉพาะหากสามารถรวมภาษาในเรื่องให้กลมกลืนไปกับเนื้อหาที่เรียน เมื่อใช้เรื่องสำหรับฝึกการฟังครูอาจจำเรื่องมาเล่าให้เด็กฟัง อ่านให้ฟัง หรือเปิดเทปให้ฟัง หากเป็นเรื่องที่ครูจำมาก็เป็นการง่ายมากที่จะพูดโต้ตอบกับเด็ก แต่ครูก็อาจพูดจาโต้ตอบได้บ้างเหมือนกันถ้าครูอ่านเรื่อง ข้อเสียของกิจกรรมประเภทนี้คือ ไม่ว่าครูจะพยายามให้เรื่องเป็นจุดรวมของกิจกรรมมากเพียงใด แต่ก็มักจะลงเอยด้วยการที่ครูเป็นศูนย์กลางแต่ถ้าหากครูคอยระวังดึงเด็กเข้ามาร่วมด้วยให้มากที่สุดก็จะสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์ของเด็กๆกับภาษา อังกฤษอีกวิธีหนึ่งคือการใช้หุ่นหรือตุ๊กตาแทนตัวละครโดยพยายามให้หุ่นออกท่าทางตามเรื่องราวที่ครูอ่านหรือเล่าอย่างไรก็ตามการให้เด็กฟังเรื่องจากเทปหรือซีดี มีข้อดีที่สำคัญบางประการเด็กสามารถได้ยินเสียงคนต่างๆมากมาย มีการบันทึกไว้ให้ฟังซ้ำระหว่างที่ไม่ได้เรียนและสามารถกลับไปฟังเรื่องเดิมแบบเดิมได้ง่ายเด็กๆก็จะสามารถฟังเรื่องอีกที่บ้านได้
ตัวอย่างกิจกรรมที่ครูทำได้กับการเล่าเรื่อง
- ให้เด็กวาดภาพตัวละครหรือฉากในเรื่อง
- ครูเล่าเรื่องโดยใช้หุ่นเป็นตัวละครพูดโต้ ตอบกันให้เด็กเล่าเรื่องอีกครั้งด้วยหุ่นของตนเอง
- ครูมีรูปของบางฉากในเรื่องให้เด็กวางรูปในลำดับที่ถูกต้องแตะหรือกระโดด
ไปบนรูปขณะที่ครูเล่าเรื่อง และก่อนเล่าเรื่องอาจให้เด็กวางรูปในลำดับที่คิดว่าน่าจะเป็นตามเนื้อเรื่อง
- เด็กแต่ละคนมีบัตรคำ หากมีการเอ่ยถึง คำใดคำหนึ่งจากบัตรเหล่านั้นในเรื่อง
เจ้าของบัตรจะต้องทำอะไรบางอย่างเช่น ทำเสียงตาม คำศัพท์ หรือยกมือ ชูบัตรขึ้นเป็นต้น
- ถ้าหากเด็กรู้เรื่องนั้นแล้วในภาษาไทย ครูอาจถามเด็กว่ามีคำภาษาอังกฤษคำไหนที่จะปรากฏในเรื่อง หรือคาดเดาความหมาย
- ครูสามารถหยุดเล่าเป็นครั้งคราวและ ถามเด็กว่าคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
            3. การสอนแบบตอบสนองด้วยการกระทำเท่านั้น (Total Physical Response/TRP) เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้กันบ่อย ตัวอย่างของ TRP คือครั้งแรกครูให้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษแล้วออก
ท่าทางตามไปด้วย แล้วครูก็ให้คำสั่งเดิมโดยไม่มีท่าทางประกอบ เด็กๆแสดงความเข้าใจด้วยการทำตามคำสั่งโดยไม่ต้องพูด แต่ก็สามารถดัดแปลงโดยให้เด็กพูดด้วยก็ได้ เช่น ให้เด็กพูดว่ากำลังทำอะไรอยู่ ถ้าครูพูดว่า Please stand up. เด็กอาจยืนขึ้นและพูดพร้อมกันว่า We are standing up.
          สรุป การสอนทักษะการฟังเป็นทักษะแรกที่มีความสำคัญสำหรับภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารครูคือควบคุมดูแลกิจกรรมทุกอย่างให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ การจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กตื่นตัวสนใจในการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติมีความสุขในการเรียนรู้ภาษาเป็นสิ่งสำคัญ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการไตร่ตรองเป็นส่วนสำคัญของความเป็นครูความสามารถของเด็กในการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถของครูในการสอนจะไม่พัฒนาเต็มตามศักยภาพ หากครูไม่มีโอกาสที่จะถอยไปข้างหลังและไตร่ตรอง บางทีการมองการสอนของเราว่าเป็นการ ทดลองอย่างหนึ่งที่ต้องคอยตรวจสอบประเมิน ทบทวน และปรับปรุงก็ช่วยในการพัฒนาการสอนของเราได้อย่างมากทีเดียว 

Excerpted from : http://www.teachingenglish.org.uk/articles/a-framework-planning-a-listening-skills-lesson


Speaking Skill


         Speaking is an interactive process of constructing meaning that involves producing and receiving and processing information (Brown, 1994) It is a productive skill because speaker is the one who give information or sender. The receptive skill is reading and listening.
           Teaching speaking mean helping students to understand voice, vocabulary, grammar, or linguistic competence. Speaking lessons can follow the usual pattern of preparation, presentation, practice. The teacher can use the"preparation" step to establish a context for the speaking task. In "presentation", the teacher can provide learners with a preproduction model that furthers learner comprehension and helps them become more attentive observers of language use. "Practice" involves learners in reproducing the targeted structure. (Brown, 1994; Burns & Joyce, 1997; Carter & McCarthy, 1995).
           Speaking is key to communication. By considering what good speakers do, what speaking tasks can be used in class, and what specific needs learners report, teachers can help learners improve their speaking and overall oral competency.
Excerpted from: http://mark2mint.blogspot.com/2011/02/speaking-skill.html



การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูด
 (Speaking skill)


              เทคนิคการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ (Speaking Skill)การสอนภาษาทุกภาษา มีธรรมชาติของการเรียนรู้เช่นเดียวกัน คือ เริ่มจากการฟัง และการพูด แล้วจึงไปสู่การอ่านและการเขียน ตามลำดับ การสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษในเบื้องต้น มุ่งเน้นความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) ในเรื่องของเสียง คำศัพท์ (Vocabulary) ไวยากรณ์ ( Grammar) กระสวนประโยค (Patterns)


 
       
           ดังนั้น กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนระดับต้นได้ฝึกทักษะการพูด จึงเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องฝึกปฏิบัติตามแบบ หรือ ตามโครงสร้างประโยคที่กำหนดให้พูดเป็นส่วนใหญ่ สำหรับผู้เรียนระดับสูง กิจกรรมฝึกทักษะการพูด จึงจะเน้นที่ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา ( Fluency) และจะเป็นการพูดแบบอิสระมากขึ้น เพราะจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และความสามารถอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน


เทคนิคการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ


           การเรียนรู้: เทคนิคการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ (Speaking Skill) การสอนภาษาทุกภาษา มีธรรมชาติของการเรียนรู้เช่นเดียวกัน คือ เริ่มจากการฟัง และการพูด แล้วจึงไปสู่การอ่านและการเขียน ตามลำดับ จุดมุ่งหมายของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน
           ชื่อเรื่อง เทคนิคการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ( Speaking Skill) เกริ่นนำ การสอนภาษาทุกภาษา มีธรรมชาติของการเรียนรู้เช่นเดียวกัน คือ เริ่มจากการฟัง และการพูด แล้วจึงไปสู่การอ่านและการเขียน ตามลำดับ การสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษในเบื้องต้น มุ่งเน้นความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) ในเรื่องของเสียง คำศัพท์ ( Vocabulary) ไวยากรณ์ (Grammar) กระสวนประโยค (Patterns) ดังนั้น กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนระดับต้นได้ฝึกทักษะการพูด จึงเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องฝึกปฏิบัติตามแบบ หรือ ตามโครงสร้างประโยคที่กำหนดให้พูดเป็นส่วนใหญ่ สำหรับผู้เรียนระดับสูง กิจกรรมฝึกทักษะการพูด จึงจะเน้นที่ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา ( Fluency) และจะเป็นการพูดแบบอิสระมากขึ้น เพราะจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และความสามารถอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน



เทคนิควิธีปฎิบัติ
            กิจกรรมการฝึกทักษะการพูด มี 3 รูปแบบ คือ

1. การฝึกพูดระดับกลไก (Mechanical Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่กำหนดให้ในหลายลักษณะ เช่น
- พูดเปลี่ยนคำศัพท์ในประโยค (Multiple Substitution Drill)
- พูดตั้งคำถามจากสถานการณ์ในประโยคบอกเล่า (Transformation Drill)
- พูดถามตอบตามรูปแบบของประโยคที่กำหนดให้ (Yes/No Question-Answer Drill)
- พูดสร้างประโยคต่อเติมจากประโยคที่กำหนดให้ (Sentence Building)
- พูดคำศัพท์ สำนวนในประโยคที่ถูกลบไปทีละส่วน (Rub out and Remember)
- พูดเรียงประโยคจากบทสนทนา (Ordering dialogues)
- พูดทายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในบทสนทนา (Predicting dialogue)
- พูดต่อเติมส่วนที่หายไปจากประโยค ( Completing Sentences )
- พูดให้เพื่อนเขียนตามคำบอก (Split Dictation) ฯลฯ
2. การฝึกพูดอย่างมีความหมาย ( Meaningful Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่เน้นความหมายมากขึ้น มีหลายลักษณะ เช่น
- พูดสร้างประโยคเปรียบเทียบโดยใช้รูปภาพ
- พูดสร้างประโยคจากภาพที่กำหนดให้
- พูดเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ในห้องเรียน ฯลฯ
3. การฝึกพูดเพื่อการสื่อสาร (Communicative Drills) เป็นการฝึกเพื่อมุ่งเน้นการสื่อสาร เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างคำตอบตามจินตนาการ เช่น
- พูดประโยคตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ( Situation)
- พูดตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ ( Imaginary Situation)
- พูดบรรยายภาพหรือสถานการณ์แล้วให้เพื่อนวาดภาพตามที่พูด ( Describe and Draw) ฯลฯ


Teaching Reading Skill



           Reading is one of the ways of learning English or other languages. There are reading tasks in tests, exams and during learning process. In this post I offer the readers some typical ways of presenting reading tasks and reading activities for learners of foreign language according to PWP Model.

Pre-Reading Activities

- Doing reading preference survey, reading activity survey
- Semantic mapping- Discussion activities (“what does this word, picture, object make you think of?”)
- Telling a story- Relating experiences associated with reading theme (“this story reminds me of…”)
- Explaining a concept or process (“How does xxx work?”)
- Asking students to explain a concept or process
- Describing an object that you bring in
- Keying on vocabulary from other pre-reading activities
- Taking a position (on a statement or a quote)
- Consensus forming (making choices as groups)
- Quick writing on a topic or a key word
- Taking a topical survey (what do all the people in the class think about xxx?)
- Making a questionnaire (group activity)
- Writing up survey/questionnaire results (group activity)
- Filling in a flow chart
- Filling in a modified cloze passage
- Guessing text genre from the title (why is text organized in a certain way?)
- Skimming in order to choose/make-up best title
- Posing questions about a topic (teacher or students) (know, want to know, have learned)
- Ordering chapter headings in order of perceived interest
- Ordering chapter sub-heading to predict arrangement of information
- Reading a letter that takes some perspective on the text, have students identify the writer
- Relating a topic to general course content
- Reading an excerpt—predicting the rest of the text
- Asking for and finding specific facts (coordinate with scanning activity)
- Writing a reaction or opinion after a discussion
- Listening to a lecture and taking notes, using the notes to compare with a section of a reading
- Looking at pictures, captions, and/or headings and then discussing or predicting
- Reading first sentences of each paragraph and predict
- Finding definitions
- Reading only sub-headings for discussion
- Reading only underlined sentences for discussion (teacher underlines)
- Seeing a film, video, slide set, picture sequence, TV show in order to discuss, write, debate
- Bringing in a person to talk to the class
- Taking a short excursion to a relevant location

While-Reading Activities

- What comes next? List the possibilities
- Provide two summaries, which is most accurate so far?
- Give alternative chapter/section headings- Use map, chart, table, etc. to outline progress so far
- Ask students to elaborate on some part of the text just read: a process, description, story, etc.
- Fill in skeleton story line up to the point of reading, same with outline—ask what will come next
- Do a flyer, poster, ad, or announcement based on reading to date
- Correct a summary full of errors- List sequence of events or steps in correct order as a chart- Make a news story from reading-to-date; report as reading unfolds
- Playmaking, role-playing- Listen to a lecture excerpt related to a section just read, or to be read
- Make statements about the reading; have the students rate the statements for accuracy, opinion
- Ask questions, give definitions, focus on vocabulary—students find words they want to remember
- Give information for next section; students make appropriate questions

Post-Reading Activities

- Scanning for key vocabulary; given definition, have them find other occurrences
- Fill in or draw grids, charts, maps, tables, outlines
- Expand or change a semantic map
- Ask questions- ETR (relate Experience, read Text, Relate experiences to text)
- Write a reaction (express opinion)
- Connect with information from other articles
- Match information- T/F statements- Fix wrong information in a summary
- Listen to lecture and connect to reading; note points of difference, points of similarity
- Write a summary, fill in a summary
- Students take/make sentences, state as T/F, other students get points if agree with right answer
- Report on reading from different frames (reporter, professional, editor, colleague)
- Ranking of importance of information in reading (start with a list of statements about reading)
- Flow chart the information
- Decide what information can be eliminated (have lists of statements)
- What is the attitude/viewpoint of the writer, what is the genre of the text, who is the audience? How do you know?
- List examples that appear in text; what would be better examples for the students?
- Write a reaction evaluation as groups- Write newspaper headlines- Write sub-headings for text sections

Excerpted from : http://passexam.cc.ua/reading-activities-pre-while-and-postreading-activities




การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน

(Reading Skill)


             การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
1. เทคนิควิธีปฏิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
(1) Basic Steps of Teaching (BST) มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
- ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง
- ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
- ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
- นักเรียนอ่านคนละประโยค ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
- นักเรียนฝึกอ่านเอง
- สุ่มนักเรียนอ่าน
(2) Reading for Fluency ( Chain Reading) คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่ เช่น ครูเรียกChain-number One นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1,11,21,31,41, 51 จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ เปลี่ยน Chain-number ใหม่
(3) Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(4) Speed Reading คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้ อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว (Fluency)และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(5) Reading for Accuracy คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้งstress / intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง (Pronunciation) โดยอาจนำเทคนิค Speed Reading มาใช้ในการฝึก และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และ คล่องแคล่ว (Fluency) ควบคู่กันไป
1.2 การอ่านในใจ ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ
- ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
- ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ
2) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้ ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น การฟัง หรือ การเขียน อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
- Matching คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
- Ordering คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences)ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
- Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน
- Correcting คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
- Deciding คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Multiple Choice) หรือ เลือกประโยคถูกผิด (True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง (Fact)หรือ เป็นความคิดเห็น (Opinion)
- Supplying / Identifying คือ อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic Sentence) หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion) หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title) หรือ ย่อเรื่อง (Summary) หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific Information)
3) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน ทั้งการฟัง การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ ความถูกต้องของคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน เป็นต้น
3. บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี) การสอนทักษะการอ่านโดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนตามข้อเสนอแนะข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการอ่านของผู้เรียนให้สูงขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการอ่านที่ดี จะนำผู้เรียนไปสู่ทักษะการพูด และการเขียนที่ดีได้เช่นเดียวกัน

Teaching Writing Skill


            One of the most important requirements for designing effective writing tasks is to think of coherent, connected activity sets, which include pre-writing, during-writing and post-writing activities. Connected activity sets help students complete the writing task successfully and foster the process of writing.
            Working backwards from the final task makes it easier to design such activity sets. Only by viewing writing in the broader context of activity sets can you ensure that writing is taught as a process, with brainstorming, several writing and re-writing tasks, and active revision. While the activity sets are presented here in chronological sequence for clarity, during actual writing, there is much recursivity among the steps.
          Pre-writing activities prepare learners for a final writing task and activate, review or build sub-skills that prepare the learner for completing the main writing task. They usually focus on the audience, the content, and the vocabulary necessary for the task. These are typically word and phrase level activities.
        During-writing activities engage learners in recursive writing, self-editing and revisions. As the students are guided through writing and re-writing, the teacher should guide them through other areas such as syntax.
         Post-writing activities help learners reflect on and revise their writing based on feedback from an audience, such as peers and/or an instructor.

Excerpted from : http://coerll.utexas.edu/methods/modules/writing/02/sets.php

การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน (Writing Skill) 


 

                การเขียน( Writing Skill) คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือผู้อ่าน มากกว่าการมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้คำและหลักไวยากรณ์ หรือ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเขียนเป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นความคล่องแคล่ว( Fluency) ในการสื่อความหมาย มากกว่าความถูกต้องของการใช้ภาษา (Accuracy) อย่างไรก็ตาม กระบวนการสอนทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้ (Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing)อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด การฝึกทักษะการเขียนสำหรับผู้เรียนระดับต้น สิ่งที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด คือ ต้องให้ผู้เรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับ คำศัพท์ ( Vocabulary) กระสวนไวยากรณ์ (Grammar Pattern) และเนื้อหา ( Content) อย่างเพียงพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถคิดและเขียนได้ ซึ่งการสอนทักษะการเขียนในระดับนี้ อาจมิใช่การสอนเขียนเพื่อสื่อสารเต็มรูปแบบ แต่จะเป็นการฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง อันเป็นรากฐานสำคัญในการเขียนเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูงได้ต่อไป ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
1. เทคนิควิธีปฎิบัติ การฝึกทักษะการเขียน มี 3 แนวทาง คือ
          1.1 การเขียนแบบควบคุม (Controlled Writing) เป็นแบบฝึกการเขียนที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนรูปทางไวยากรณ์ คำศัพท์ในประโยค โดยครูจะเป็นผู้กำหนดส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้ผู้เรียน ผู้เรียนจะถูกจำกัดในด้านความคิดอิสระ สร้างสรรค์ ข้อดีของการเขียนแบบควบคุมนี้ คือ การป้องกันมิให้ผู้เรียนเขียนผิดตั้งแต่เริ่มต้น กิจกรรมที่นำมาใช้ในการฝึกเขียน เช่น
Copying , เป็นการฝึกเขียนโดยการคัดลอกคำ ประโยค หรือ ข้อความที่กำหนดให้ ในขณะที่เขียนคัดลอก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้การสะกดคำ การประกอบคำเข้าเป็นรูปประโยค และอาจเป็นการฝึกอ่านในใจไปพร้อมกัน


          Gap Filling เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ มาเขียนเติมลงในช่องว่างของประโยค ผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้คำชนิดต่างๆ (Part of Speech) ทั้งด้านความหมาย และด้านไวยากรณ์
Re-ordering Words, เป็นการฝึกเขียนโดยเรียบเรียงคำที่กำหนดให้ เป็นประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำในประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และเรียนรู้ความหมายของประโยคไปพร้อมกัน
Changing forms of Certain words เป็นการฝึกเขียนโดยเปลี่ยนแปลงคำที่กำหนดให้ในประโยค ให้เป็นรูปพจน์ หรือรูปกาล ต่างๆ หรือ รูปประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ ฯลฯ ผู้เรียนได้ฝึกการเปลี่ยนรูปแบบของคำได้อย่างสอดคล้องกับชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
Substitution Tables เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ในตาราง มาเขียนเป็นประโยคตามโครงสร้างที่กำหนด ผู้เรียนได้ฝึกการเลือกใช้คำที่หลากหลายในโครงสร้างประโยคเดียวกัน และได้ฝึกทำความเข้าใจในความหมายของคำ หรือประโยคด้วย 1.2 การเขียนแบบกึ่งควบคุม (Less – Controlled Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่มีการควบคุมน้อยลง และผู้เรียนมีอิสระในการเขียนมากขึ้น การฝึกการเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเค้าโครงหรือรูปแบบ แล้วให้ผู้เรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่การเขียนอย่างอิสระได้ในโอกาสต่อไป กิจกรรมฝึกการเขียนแบบกึ่งอิสระ เช่น
             Sentence Combining เป็นการฝึกเขียนโดยเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน ด้วยคำขยาย หรือ คำเชื่อมประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรียบเรียงประโยคโดยใช้คำขยาย หรือคำเชื่อมประโยค ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
             Describing People เป็นการฝึกการเขียนบรรยาย คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ โดยใช้คำคุณศัพท์แสดงคุณลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้ ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำคุณศัพท์ขยายคำนามได้อย่างสอดคล้อง และตรงตามตำแหน่งที่ควรจะเป็น
Questions and Answers Composition เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราว ภายหลังจากการฝึกถามตอบปากเปล่าแล้ว โดยอาจให้จับคู่แล้วสลับกันถามตอบปากเปล่าเกี่ยวกับเรื่องราวที่กำหนดให้ แต่ละคนจดบันทึกคำตอบของตนเองไว้ หลังจากนั้น จึงให้เขียนเรียบเรียงเป็นเรื่องราว 1 ย่อหน้า ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรื่องราวต่อเนื่องกัน โดยมีคำถามเป็นสื่อนำความคิด หรือเป็นสื่อในการค้นหาคำตอบ ผู้เรียนจะได้มีข้อมูลเป็นรายข้อที่สามารถนำมาเรียบเรียงต่อเนื่องกันไปได้อย่างน้อย 1 เรื่อง
Parallel Writing เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราวเทียบเคียงกับเรื่องที่อ่าน โดยเขียนจากข้อมูล หรือ ประเด็นสำคัญที่กำหนดให้ ซึ่งมีลักษณะเทียบเคียงกับความหมายและโครงสร้างประโยค ของเรื่องที่อ่าน เมื่อผู้เรียนได้อ่านเรื่องและศึกษารูปแบบการเขียนเรียบเรียงเรื่องนั้นแล้ว ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลหรือประเด็นที่กำหนดให้มาเขียนเลียนแบบ หรือ เทียบเคียงกับเรื่องที่อ่านได้
Dictation เป็นการฝึกเขียนตามคำบอก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่วัดความรู้ ความสามารถของผู้เรียนในหลายๆด้าน เช่น การสะกดคำ ความเข้าใจด้านโครงสร้างประโยค ไวยากรณ์ รวมถึงความหมายของคำ ประโยค หรือ ข้อความที่เขียน

1.3 การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด ผู้เรียนมีอิสระเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด จินตนาการอย่างกว้างขวาง การเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเพียงหัวข้อเรื่อง หรือ สถานการณ์ แล้วให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามความคิดของตนเอง วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้เต็มที่ ข้อจำกัดของการเขียนลักษณะนี้ คือ ผู้เรียนมีข้อมูลที่เป็นคลังคำ โครงสร้างประโยค กระสวนไวยากรณ์เป็นองค์ความรู้อยู่ค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การเขียนอย่างอิสระนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
             การสอนทักษะการเขียน โดยใช้กิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการเขียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการเขียนที่ดี จะนำไปสู่การสื่อสารที่สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

This is the video about how to teach writing skill to ESL students.
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น